bookmark_borderการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

รู้หรือไม่การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ต้องใช้เครื่องช่วยฟังด้วยนะ

 อาการของโรคน้ำในหูไม่กันนั้นมักจะเกิดมาจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งในหูชั้นนี้จะมีน้ำคอยควบคุมการทำงานของเซลล์ประสาทในปริมาณที่พอดี ซึ้งเซลล์ประสาทอันนี้จะมีหน้าที่คอยควบคุมการทรงตัวและการได้ยินเสียงของหู ซึ่งหากข้างในหูมีความผิดปกติความสามารถในการดูดซึมน้ำอาจมีปริมาณมากกว่าปกติก็จะส่งผลต่อการควบคุมทั้งหมดทั้งเรื่องการได้ยินและการสูญเสียการทรงตัว

ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมักจะเกิดกับหูข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหากมีอาการน้ำในหูไม่เท่ากันในช่วงแรกๆ อาจมีอาการไม่นานประมาณหนึ่งชั่วโมงก็หาย แต่หากทิ้งไว้นานไปก็จะมีผลเสียตามมาได้เช่นกัน ทั้งนี้ก่อนที่เราจะมีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน เรามักจะได้รับสัญญาณเตือนมาก่อนล่วงหน้าทำให้เราต้องสังเกตอาการเหล่านี้ให้ดีเช่น เราจะรู้สึกว่าบ้านหมุนและทำให้เราเวียนหัว เราจะรู้สึกว่าปวดหัวและมีอาการหูอื้อรู้สึกเหมือนมีแรงดันอยู่ภายในหู  ซึ่งหากเรามีอาการเหล่านี้ควรรีบหาที่นั่งพักทันที เพราะจะสุ่มเสี่ยงทำให้เราเกิดอาการบาดเจ็บทางกายเพิ่มได้หากเราหน้ามืดแล้วล้มหัวฟาดพื้นลงมา

หากเราสงสัยว่าเราจะเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางให้ตรวจสอบและหากพบว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่ท่ากันจริงๆจะได้รับรีบรักษาให้หายได้ทันท่วงที ซึ่งขั้นตอนการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นจะมีวิธีการรักษาได้หลายแบบขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเรามีอาการรุนแรงมากน้อยแค่ไหนแล้ว  ซึ่งรูปแบบของการรักษาก็จะมีทั้งให้กินยา ฉีดยา บำบัดรวมถึงอาจต้องมีการผ่าตัด

 หากคนป่วยมีอาการเริ่มแรกยังไม่เป็นมาก ยังมีแค่เพียงอาการบ้านหมุน เวียนหัว คลื่นไส้แพทย์มักจะรักษาด้วยการให้ยา เช่นยากแก้อาเจียน ยาแก้เมารถ ยาขับปัสสาวะซึ่งการกินยานี้จะต้องมีการควบคุมการกินอาหารที่มีลดเค็มลงมาด้วย และหากพบว่าบางรายเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเพราะมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายของตัวเองหมอมักจะจ่ายยาประเภทสเตียรอยด์ให้รับประทาน

และในบางรายหมอจะรักษาด้วยการบำบัด คือการที่จะช่วยคนป่วยที่มีปัญหาเรื่องของการทรงตัว รวมถึงตรวจสอบคุณภาพการได้ยินของหู หากพบว่ามีปัญหาด้านการได้ยินคุณหมอจะให้ใส่เครื่องช่วยฟังในการรักษาโรคนี้ด้วย แต่หากการรักษาในสองแบบแรกยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้การรักษาด้วยการฉีดยา หรือเปลี่ยนมาเป็นการผ่าตัดได้ ซึ่งต้องดูอาการของผู้ป่วยแต่ละรายว่าต้องรักษาแบบไหน

 

สนับสนุนโดย  หวยออนไลน์